สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

    สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Association of South East Asian Nations) หรืออาเซียน เป็นองค์การภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชาเวียดนาม และพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน และมีจีดีพีคิดเป็นมูลค่าราว 1.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐคิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียน ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

การขยายตัวของอาเซียน

ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมา ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งห่างจากวันที่บรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว
ต่อมา เวียดนาม ในเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่เจ็ด ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538ไม่นานหลังจากนั้น ลาวและพม่า ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่แปดและเก้าตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนเวลาออกไปเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่สิบ ภายหลังจากรัฐบาลของประเทศมีความมั่นคงแล้ว
ในช่วงพุทธทศวรรษ 2530 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการมีประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความพยายามในการรวบรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไปอีกขึ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในกลุ่มเอเปคและภูมิภาคเอเชียโดยรวม แต่ว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไป เนื่องจากได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้ ในปี พ.ศ. 2535 การใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันได้รับการลงนาม เนื่องจากจุดประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
นอกเหนือจากความร่วมมือในการช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกแล้ว กลุ่มสมาคมอาเซียนยังได้มีวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่ ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการลงนาม เพื่อให้ภูมิภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในพื้นที่

คริสต์ศตวรรษที่ 21

เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในข้อตกลงมลภาวะฟ้าหลัวระหว่างประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549 และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (Bali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการของประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในพื้นที่ นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่ไม่ได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรจะใฝ่หา
ผู้นำของแต่ละประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่งมาเลเซีย มีความรู้สึกถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2540 สมาคมอาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์การหลายแห่งในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาเซียนบวกสามเป็นองค์การแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตามด้วย การประชุมเอเชียตะวันออก ซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้ง กลุ่มผู้มีชื่อเสียงแห่งอาเซียนขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียนในอนาคต
ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพ "หุ้นส่วนการอภิปราย" ให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทน นอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเอง โจเซ รามุส-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามในความต้องการในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ และคาดหวังว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์
ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกาในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และในปีเดียวกันนั้น ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก

วัตถุประสงค์

จากสนธิสัญญาความสามัคคีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้
  1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
  2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
  3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
  4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
  5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
  6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ

การประชุม

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งประมุขของรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน[36] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
อ้างอิง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์ยาวนับร้อยปี และมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตอย่างเป็นทางการโดยมีการลงนามในปฎิญญาทางไมตรี ทางการพาณิชย์ เมื่อวันที่26 กันยายน 2430 นับแต่นั้นมาไทยกัญี่ปุ่นมีความสัมพัธ์อันดีมาโดยตลอดเรื่อยๆมา
           
           ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันสองส่วนใหญ่คือ


ด้านการค้าการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น
   เมื่อปี 2548 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 41,132ล้านดอลล่าสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากมูลค่าการค้าสองฝ่ายจากปีก่อน ซึ่งทางไทยมีการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น และมีการนำเข้าสินค้ามากขึ้นด้วย
   สินค้าที่ไทยนำเข้ามากที่สุดเช่น แผนวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบรถยนต์ เหล็กแผ่นรีดร้อน เครื่องจักรที่เป็นเอกเทศ ทรานซิสเตอร์ รถยนต์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ
   สินค้าที่ส่งออกเช่น ยางธรรมชาติ ข้าว เนื้อสัตว์ ไก่สดแช่เย็น แผนวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบรถยนต์ และอื่นๆ
   การลงทุนเมือปี 2548 ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่งของไทย โดยมีมูลค่าทั้งสิ้น4,613.5ล้านดอลล่าสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก2,680.1ล้านดอลล่าสหรัฐในปี2547 ซึ่งส่วนมากเป็นการลงทุนในสาขาผลิตภัณฑ์โลหะ รถยนต์ เครื่องจักร

ด้านความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ญี่ปุ่น
           ด้านภาพรวม
             ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่นความร่วมมือทั้งสองประเทศครอบคุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ด้านการทหาร และวัฒนธรรมเพื่อสร้างศักยภาพของประเทศ ซึ่งไทยได้มุ่งกระชับความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุธศาสตร์และเศรษฐกิจ(strategic and economic partnership)
          การเยือนสำคัญในระดับราชวงค์ คือการเสด็จฯ เยือนไทยของสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี เมื่อวันที่11-15 มิถุนายน พ.ศ.2549 เพื่อทรงเข้าร่วมในพระราชพิธีเฉลิมฉลองราชสมบัติครบ60ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นการเยือนไทยเป็นครั้งที่สองของสมเด็จพระจักรพรรดิและพระจักรพรรดินี ภายหลังการขึ้นของราชสมบัติ และเป็นการเสด็จเยือนซ้ำประเทศที่เคยเสด็จเป็นประเทศแรก
          ในขณะเดียวกัน ในปีเดียวกันนั้น พระบรมศานุวงศ์ก็ได้เสด็จเยือนอยู่หลายครั้ง โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิรราชฯสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมี้ พระวรชายาและพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปักกรรัศมีโชติได้เสด็จเยือนญี่ปุ่นเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 14-19 มกราคม พ.ศ.2549
          สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมาร เสด็จเยือนญี่ปุ่นเพื่อทรงเข้าร่วมการประชุม Globalization challenges and Opportunities for science technolocy จัดโดยมหาวิทยาลัยสหประชาชาติและองค์การยูเนสโก ระหว่างวันที่21-15 สิงหาคม พ.ศ.2549
          ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศก็มีความใกล้ชิดแนบแน่น ปัจจุบันมีชาวไทยพำนักอยู่ในญี่ปุ่นประมาณ50,000 คน ในขณะที่ชาวญี่ปุนพำนักอยู่ในประเทศไทยประมาณ40,000 คน
          ในปี พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นปีครบรอบ120ปี การสถาปนาความสมพันธ์ทางการฑูตไทย-ญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการเฉลิมฉลอง โดยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมไทย-ญี่ปุ่น ว่าด้วยการฉลอง120ปี ความสัมพันธ์ขึ้นเพื่อกำกับและเตรียมกิจกรรมขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นในวันที่27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550
          ด้านนโยบายการต่างประเทศ
             ญี่ปุ่นต้องการเพิ่มบทบาทและมีส่วนร่วมในประชาคมระหว่างประเทศอย่างสร้างสรรค์ อาทิ ความประสงค์ที่จะเข้าเป็นสมาชิกถาวรของสหประชาชาติ การแก้ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี และการผลักดันให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ขององค์กรการค้าโลก เป็นต้น โดยยังคงให้ความน้ำหนักความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรสหรัฐฯ และพยายามเพิ่มความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ จีน รัสเชีย เกาหลี และอาเชียน
             ไทยสนับสนุนบทบาทดังกล่าวของญี่ปุ่น โดยเห็นว่าเป็นการเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภุมิภาค และในเวทีโลก แต่กระนั้นในช่วงที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้เริ่มนโยบายเชิงรุกมากขึ้น
             ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทยในกรณีธรณีพิบัติ เมื่อวันที่26 ธันวาคม พ.ศ.2547 โดยญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือจำนวนเงิน500ดอลล่าสหรัฐฯแก่ประเทศที่ประสบภัย สำหรับกับประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือโดยส่งผู้เชี่ยวชาญ ทีมชันสูตรศพ และเครื่องอุปโภคบริโภคมาเพื่อช่วยเหลือฝ่ายไทย ความช่วยเหลือดังกล่าวมาจากภาครัฐและภาคเอกชน


ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
          ในปีพ.ศ.2548 มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมาเยือนไทยจำนวน1,196,654คน คิดเป็นร้อยละ10.35%ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในไทย เป็นลำดับที่สองรองจากมาเลเชีย และมีชาวไทยเดินทางไปญี่ปุ่นจำนวน168,456คนซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีอื่นๆ
 กรอบความร่วมมือทวิภาคีที่สำคัญ
  • การหารือหุ้นส่วนการเมืองไทย-ญี่ปุ่น
  • การประชุมทวิภาคีด้านการเมืองและการทหาร
  • คณะการทำงานร่วมไทยญี่-ปุ่น ว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์
  • การประชุมความร่วมมือทางวิชาการ
  • การประชุมหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น


อ้างอิง
  1. ประชาไท, บทความFTA
  2. สำนักงานเจรจาการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น
  3. http://www.mfa.go.th/