ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์ยาวนับร้อยปี และมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตอย่างเป็นทางการโดยมีการลงนามในปฎิญญาทางไมตรี ทางการพาณิชย์ เมื่อวันที่26 กันยายน 2430 นับแต่นั้นมาไทยกัญี่ปุ่นมีความสัมพัธ์อันดีมาโดยตลอดเรื่อยๆมา
           
           ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันสองส่วนใหญ่คือ


ด้านการค้าการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น
   เมื่อปี 2548 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 41,132ล้านดอลล่าสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากมูลค่าการค้าสองฝ่ายจากปีก่อน ซึ่งทางไทยมีการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น และมีการนำเข้าสินค้ามากขึ้นด้วย
   สินค้าที่ไทยนำเข้ามากที่สุดเช่น แผนวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบรถยนต์ เหล็กแผ่นรีดร้อน เครื่องจักรที่เป็นเอกเทศ ทรานซิสเตอร์ รถยนต์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ
   สินค้าที่ส่งออกเช่น ยางธรรมชาติ ข้าว เนื้อสัตว์ ไก่สดแช่เย็น แผนวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบรถยนต์ และอื่นๆ
   การลงทุนเมือปี 2548 ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่งของไทย โดยมีมูลค่าทั้งสิ้น4,613.5ล้านดอลล่าสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก2,680.1ล้านดอลล่าสหรัฐในปี2547 ซึ่งส่วนมากเป็นการลงทุนในสาขาผลิตภัณฑ์โลหะ รถยนต์ เครื่องจักร

ด้านความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ญี่ปุ่น
           ด้านภาพรวม
             ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่นความร่วมมือทั้งสองประเทศครอบคุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ด้านการทหาร และวัฒนธรรมเพื่อสร้างศักยภาพของประเทศ ซึ่งไทยได้มุ่งกระชับความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุธศาสตร์และเศรษฐกิจ(strategic and economic partnership)
          การเยือนสำคัญในระดับราชวงค์ คือการเสด็จฯ เยือนไทยของสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี เมื่อวันที่11-15 มิถุนายน พ.ศ.2549 เพื่อทรงเข้าร่วมในพระราชพิธีเฉลิมฉลองราชสมบัติครบ60ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นการเยือนไทยเป็นครั้งที่สองของสมเด็จพระจักรพรรดิและพระจักรพรรดินี ภายหลังการขึ้นของราชสมบัติ และเป็นการเสด็จเยือนซ้ำประเทศที่เคยเสด็จเป็นประเทศแรก
          ในขณะเดียวกัน ในปีเดียวกันนั้น พระบรมศานุวงศ์ก็ได้เสด็จเยือนอยู่หลายครั้ง โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิรราชฯสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมี้ พระวรชายาและพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปักกรรัศมีโชติได้เสด็จเยือนญี่ปุ่นเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 14-19 มกราคม พ.ศ.2549
          สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมาร เสด็จเยือนญี่ปุ่นเพื่อทรงเข้าร่วมการประชุม Globalization challenges and Opportunities for science technolocy จัดโดยมหาวิทยาลัยสหประชาชาติและองค์การยูเนสโก ระหว่างวันที่21-15 สิงหาคม พ.ศ.2549
          ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศก็มีความใกล้ชิดแนบแน่น ปัจจุบันมีชาวไทยพำนักอยู่ในญี่ปุ่นประมาณ50,000 คน ในขณะที่ชาวญี่ปุนพำนักอยู่ในประเทศไทยประมาณ40,000 คน
          ในปี พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นปีครบรอบ120ปี การสถาปนาความสมพันธ์ทางการฑูตไทย-ญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการเฉลิมฉลอง โดยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมไทย-ญี่ปุ่น ว่าด้วยการฉลอง120ปี ความสัมพันธ์ขึ้นเพื่อกำกับและเตรียมกิจกรรมขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นในวันที่27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550
          ด้านนโยบายการต่างประเทศ
             ญี่ปุ่นต้องการเพิ่มบทบาทและมีส่วนร่วมในประชาคมระหว่างประเทศอย่างสร้างสรรค์ อาทิ ความประสงค์ที่จะเข้าเป็นสมาชิกถาวรของสหประชาชาติ การแก้ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี และการผลักดันให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ขององค์กรการค้าโลก เป็นต้น โดยยังคงให้ความน้ำหนักความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรสหรัฐฯ และพยายามเพิ่มความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ จีน รัสเชีย เกาหลี และอาเชียน
             ไทยสนับสนุนบทบาทดังกล่าวของญี่ปุ่น โดยเห็นว่าเป็นการเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภุมิภาค และในเวทีโลก แต่กระนั้นในช่วงที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้เริ่มนโยบายเชิงรุกมากขึ้น
             ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทยในกรณีธรณีพิบัติ เมื่อวันที่26 ธันวาคม พ.ศ.2547 โดยญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือจำนวนเงิน500ดอลล่าสหรัฐฯแก่ประเทศที่ประสบภัย สำหรับกับประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือโดยส่งผู้เชี่ยวชาญ ทีมชันสูตรศพ และเครื่องอุปโภคบริโภคมาเพื่อช่วยเหลือฝ่ายไทย ความช่วยเหลือดังกล่าวมาจากภาครัฐและภาคเอกชน


ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
          ในปีพ.ศ.2548 มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมาเยือนไทยจำนวน1,196,654คน คิดเป็นร้อยละ10.35%ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในไทย เป็นลำดับที่สองรองจากมาเลเชีย และมีชาวไทยเดินทางไปญี่ปุ่นจำนวน168,456คนซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีอื่นๆ
 กรอบความร่วมมือทวิภาคีที่สำคัญ
  • การหารือหุ้นส่วนการเมืองไทย-ญี่ปุ่น
  • การประชุมทวิภาคีด้านการเมืองและการทหาร
  • คณะการทำงานร่วมไทยญี่-ปุ่น ว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์
  • การประชุมความร่วมมือทางวิชาการ
  • การประชุมหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น


อ้างอิง
  1. ประชาไท, บทความFTA
  2. สำนักงานเจรจาการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น
  3. http://www.mfa.go.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น